"ระบบพลังงานไทยและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง"

หัวข้อการบรรยายในครั้งนี้
1. ลักษณะทางเทคนิค วิวัฒนาการ และทิศทางของการประกอบ กิจการพลังงาน
2. ความท้าทายและการพัฒนากฎหมาย (กฎหมายต้องถูกพัฒนา ตามการเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร) โดยแบ่งเป็น
2.1 สภาพข้อเท็จจริงที่ว่าระบบพลังงานแบบที่รวมตัวกัน น้อยลง กระจายศูนย์มากขึ้น และมีการแข่งขันกันมากขึ้น
2.2 คำถามใหม่ ๆ ที่ "ควรตอบให้ได้" เช่น ผู้ใช้พลังงานมี สิทธิที่จะเลือกว่าจะใช้พลังงานแบบใด และควรมีพลังมาก ขึ้นที่จะไม่ถูก "บังคับ" ให้ต้องใช้พลังงานตามดุลพินิจ ของผู้จัดหาพลังงาน และควรมีสิทธิเลือกที่จะไม่ต้องแบก รับ "ต้นทุนในการประกอบกิจการบางอย่าง" หรือไม่?

ทั้งนี้ในส่วนการให้ความรู้เพิ่มเติมในด้านความมั่นคง ยั่งยืน ยืดหยุ่น และ ประชาธิปไตยทางพลังงาน อีกทั้งภารกิจและศักยภาพของกฎหมายพลังงานโดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำกับดูแล ระเบียบ บทบาทหน้าที่ อำนาจของภาครัฐ รวมไปถึงสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียนล้วนแล้วมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่ง ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ อยากจะส่งมอบความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้


1. ความมั่นคง ยั่งยืน ยืดหยุ่น และประชาธิปไตยทางพลังงาน

ความมั่นคงและความยั่งยืนในการจัดหาพลังงานเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การที่รัฐบาลมุ่งเน้นให้มีแหล่งพลังงานที่มั่นคงและเพียงพอสำหรับประชาชน เป็นเรื่องสำคัญในการสร้างความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน โดยการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ยังเน้นการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างสถานการณ์ที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้พลังงานหมุนเวียนได้ง่ายขึ้น มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน"

ในการจัดหาทรัพยากรปิโตรเลียม การกำหนดเจ้าของและการใช้งานมีความสำคัญในการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรนี้ ในบางประเทศ รัฐบาลจะเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่ในอื่นๆ รัฐบาลอาจให้สิทธิ์ให้กับบุคคลที่เป็นเจ้าของที่ดิน การวางกฎหมายและการดำเนินการในเรื่องนี้จะต่างกันตามแต่ละประเทศ" ประเทศไทย เรื่องการเป็นเจ้าของและการใช้งานทรัพยากรธรรมชาติมีระเบียบและกฎหมายที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ รัฐเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพยากรทางธรรมชาติ แต่มีการให้สิทธิให้กับบริษัทเอกชนในการลงทุนหากมีการนำเสนอแผนงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือสร้างประโยชน์จากทรัพยากรนั้น นอกจากนี้ การทำสัญญาซื้อขายพลังงานเช่นก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าจะต้องผ่านการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการอย่างถูกต้องและมีความปลอดภัยสูงสุด ทั้งนี้ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักเบื้องต้นเกี่ยวกับ ทรัพยากรปิโตรเลียมเป็นของใคร ผู้ใดมีสิทธิในการสำรวจและผลิตได้ โดยปกติทั่วโลกรัฐบาลจะประกาศความเป็นเจ้าของแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งอนุญาตให้
ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของทรัพยากรทางธรรมชาติเหนือที่ดินส่วนบุคคล
(สาเหตุหลักมาจากเนื่องด้วยทางรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาต้องการให้ประชาชนมีการวิเคราะห์พัฒนาสรรหาหรือสรรค์สร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการนำทรัพยากรมาใช้ประโยค ความคิดเห็นของผู้บรรยาย)

ประเทศไทยจะแตกต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกาโดยสิ้นเชิง โดยรัฐจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรทางธรรมชาติแต่งเพียงผู้เดียวหาก บริษัทเอกชนต้องการลงทุนในทรัพยากรธรรมชาติของประเทศจะต้องมีการนำเสนอแผนงานหรือเรียกว่าการอนุญาตที่รัฐให้แก่เอกชนเพื่อจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดทำประโยชน์หรือแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ภายในระยะเวลาและตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด ทั้งนี้ในการสำรวจหาแหล่งพลังงานจะต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย หากเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะส่งพบกระทบต่อ ราคาหุ้นของบริษัท ธนาคารต่างๆจะไม่อนุมัติแหล่งเงินทุน ผู้ลงทุนจะไม่สามารถนำข้อถกเถียงกล่าวอ้างในเรื่องของความถูกต้องตามกฎหมายในประเทศอื่นมากล่าวอ้างได้ จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในประเทศนั้นๆ

การทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติจะต้องมีผู้ตรวจสอบเพราะถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งและยังจะต้องให้ความใส่ใจในรายละเอียดอย่างสูงเพราะมีผลต่อความมั่นคงของพลังงานของประเทศและประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศเพื่อนบ้าน(ต่างประเทศ)หรือในประเทศก็ตาม โดยจะมีสำนักอัยการสูงสุดเป็นผู้ตรวจสอบสัญญา
            การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าก็เช่นเดียวกันในประเทศไทยได้มีการกำหนดให้ระบบผู้รับซื้อไฟฟ้ามีเพียงรายเดียวคือ กฟผ
. และเป็นผู้ตรวจสอบระบบโครงข่าย


2. ภารกิจและศักยภาพของกฎหมายพลังงาน
กฎหมายพลังงานนั้นไม่ได้มีความหมายและขอบเขตที่ชัดเจนและแน่นอนอย่างไรก็ตาม เวลากล่าวถึงกฎหมายพลังงาน เราอาจหมายถึงกลุ่มของสนธิสัญญา บทบัญญัติ และกฎหมายลำดับรองที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ (เช่น)

- ให้สิทธิในการผลิต ส่ง จำหน่าย และให้บริการพลังงาน มีการให้ข้อคิดเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและการใช้ระบบโครงข่าย หรือเรียกว่า PPA ดังนี้: วัตถุประสงค์ของสัญญาการส่งมอบไฟฟ้าโดยมีการกำหนดจุดรับไฟฟ้าพลังงานสะอาดโดยใช้โครงข่ายเพื่อส่งมอบไปยังจุดรับที่ปลายทาง โดยยกตัวอย่างการรับประจุไฟฟ้า ณ จุดรับไปส่งไปรับประจุไฟฟ้า ณ จุดส่งมอบ คำถามคือ ท่านได้รับไฟฟ้าจริงใช้งานได้จริงแต่ท่านจะสามารถทราบได้อย่างไรว่าไฟฟ้าที่ท่านใช้นั้นคือไฟฟ้าประจุเดียวกันกับที่ท่านส่ง กรุณาสังเกตว่า ทางกฎหมายโดยทั่วไป ตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายสิ่งของท่านจะได้รับสิ่งของตามที่ท่านตกลงกันไว้ในสัญญา แต่ทั้งนี้การ PPA คือสัญญาซื้อการใช้บริการ ถึงแม้จะไม่ได้รับประจุไฟฟ้าเดียวกันแต่ท่านจะได้รับไฟฟ้าปริมาณตามที่ตกลงกันไม่ถือเป็นการผิดสัญญาตรงนี้เพราะได้ปฏิบัติตามกันในข้อตกลงที่กำหนด

- ให้อำนาจรัฐในการกำกับพฤติกรรมของผู้ประกอบกิจการพลังงาน ผู้บรรยายได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนของ "มติคณะรัฐมนตรีไม่ใช่กฎหมาย" เพื่ออธิบายว่า มันไม่ใช่กฎหมายที่ได้รับการลงนามโดยรัฐมนตรี ซึ่งหมายความว่ามันไม่มีผลบังคับใช้เหมือนกับกฎหมายที่ได้รับการรับรองโดยรัฐมนตรี แต่มันอาจมีผลกระทบต่อนโยบายหรือแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลหรือหน่วยงานรัฐ มันอาจเป็นเพียงมติหรือคำตัดสินใจที่ถูกเสนอโดยคณะรัฐมนตรี แต่ไม่ได้รับการรับรองหรือยอมรับโดยกฎหมาย เพื่อเป็นกฎหมายจริงๆ จะต้องผ่านกระบวนการกฎหมายที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นการให้สิทธิบัตรหรือพระราชบัญญัติตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ หรือผ่านระบบของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง

- กำหนดทิศทางและเป้าหมายของนโยบายพลังงาน (ที่เปลี่ยนอยู่เสมอ) ระบบสาธารณูปโภคเหล่านี้ต้องมีคน "ลงทุน" และ "แบกรับความเสี่ยงในการดำเนินการ" เราไม่ได้อยู่ในยุคที่มีเฉพาะคำถามว่าประเทศไทยต้องมีโรงไฟฟ้าอีกกี่โรงหากแต่อยู่ในยุคที่ระบบพลังงาน (และกฎหมาย) เปิดโอกาสให้มีการผลิตและใช้พลังงานสะอาดอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ศูนย์ธุรกิจ EEC นำ SMART ENERGY CITY เรียกว่า เมืองใหม่ทั้งหมดในพื้นที่แปลงใหญ่กว่า 10,000 ไร่ เวลานี้กำลังอยู่ในช่วงการออกแบบซึ่งจะใช้เวลาราว
 2-3 ปี โดยพื้นที่แรกมีพื้นที่ 5,000 ไร่การออกแบบจะใช้เวลาค่อนข้างมากเพราะต้องการเน้นตอบโจทย์การใช้สอยของกลุ่มธุรกิจที่เข้ามาลงทุนเป็นหลัก ตนมองว่า ส่วนยากที่สุดของเมืองใหม่
Smart City คือ ระบบสาธารณูปโภคส่วนในเรื่องของพลังงานก็มีการวางเป้าจะใช้ Renewable Energy (RE) หรือพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 100% ตอบโจทย์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล

- แทรกแซงพฤติกรรมการใช้พลังงานให้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน โดยอาจกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ว่า “ต้องหรือควร” ทำอะไร หรือ “ห้าม” ทำอะไร

1.      ไม่ว่ารัฐหรือเอกชนจะประกอบกิจการพลังงานก็ต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติและทำให้เกิดความมั่นคง ยั่งยืน ยืดหยุ่นทางพลังงานได้

2.      ตรวจสอบให้รอบคอบว่าการประกอบการไม่ก่อภาระต่อสิ่งแวดล้อมมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

3.      ราคาพลังงานต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง หากไม่เช่นนั้นอาจผลิตไว้จำนวนมากหรือน้อยเพื่อมีอำนาจในการกำหนดราคาแต่เพียงผู้เดียว

4.      การประกอบกิจการต้องมีคุณภาพเพื่อคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน เพราะหัวใจหลักคือต้องคำนึกถึงประชาชน

- คุ้มครองให้การลงทุนและผลตอบแทนจากการประกอบกิจการพลังงาน การนำกฎหมายมาเกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาของพลังงานต้นทุนที่แท้จริงจากการประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า (ซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนต้อง "จ่าย") (หากการผลิตไฟฟ้าจากทรัพยากรพลังหมุนเวียนมีต้นทุนที่สูงขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าก็ควรจะจ่ายเช่นกันมิฉะนั้นราคาพลังงานอาจไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง) ต้องมีระบบที่ดีพอที่จะคุ้มครองนักลงทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและผู้ลงทุน

- คุ้มครองผู้ใช้พลังงาน ผู้ใช้พลังงานหรือประชาชนมีสิทธิที่จะสามารถรู้ถึงรายละเอียดของโครงการต่างๆ เพื่อตรวจสอบได้ว่ามีการโปร่งใสในการทำงานของเจ้าที่หรือไม่ ส่งจะส่งผลปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่าไฟฟ้าผันแปร เป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชนหรือประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนนั้นต้องแบกรับมาโดยตลอด

 

ข่าวและกิจกรรมที่น่าสนใจ

ASEAN Workshop on Circular Economy towards Advancing Sustainability Cooperation in the Region.

ASEAN Workshop on Circular Economy towards Advancing Sustainability Cooperation in the Region at the GIZ Circular Economy (CE) Week 16 April 2024 Brussels, Belgium, Aloft Hotel

อ่านเพิ่มเติม
ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย PTEC ได้เป็นวิทยากร (วพน.19) ในหัวข้อ Executive Interview : Energy Law & Regulation

การอบรม" หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน วิทยาการพลังงานรุ่น 19" (วพน.19) ในหัวข้อ Executive Interview : Energy Law & Regulation

อ่านเพิ่มเติม
การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบปิดเกี่ยวกับการดักจับ การใช้ และการจัดเก็บคาร์บอน (CCUS)

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 ถึง วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จัดโดย สถาบันศึกษาพลังงาน มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สถานที่ โรงแรมออร์ชาร์ด ห้อง Nutmeg ชั้น 2 ณ ประเทศสิงค์โปร

อ่านเพิ่มเติม