Service

ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

ดำเนินการด้านกฎระเบียบให้ครบวงจร ทั้งกิจการที่ต้องการได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ด้านกฎหมายพลังงาน (Energy Law) และกฎหมายสิ่งแวดล้อม การขอใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงา รวมถึงสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

Read More
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์

การประเมินปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas : GHG) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร/สำนักงาน/การให้บริการจากกิจกรรมต่างๆ ในความรับผิดชอบขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ประเมินได้ในหน่วยของปริมาณเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

Read More
ให้บริการและให้คำแนะนำ การตรวจและร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

การจัดทำรายการตรวจสอบ (Check List) สำหรับการตรวจร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจร่างสัญญาที่มีกฎหมายเฉพาะด้านและ พรบ. ประกาศข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการตรวจร่างสัญญาของกลุ่มนิติกรรมสัญญาเป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยมีความรอบคอบและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมายโดยไม่ขัดต่อกฎระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

Read More

Knowledge Corner

"ฉลากรักษ์โลก" รายการวิทยุ ฬ.นิติมิติ EP.13/2567

"ฉลากรักษ์โลก" จัดโดย รายการวิทยุ ฬ.นิติมิติ EP.13/2567

Read More
EP 39 สิ่งที่ผู้ซื้อได้จากสัญญาซื้อไฟฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน

หากผู้ใช้ไฟฟ้าเช่นโรงงานอุตสาหกรรมประสงค์ที่จะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (carbon footprint organization หรือ “CFO”) โดยลดปริมาณการหปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน โดยโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าวไม่ประสงค์จะลงมือผลิตไฟฟ้าเองแต่เลือกที่จะ “ซื้อ” พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนหรือหลักฐานอื่นที่ช่วยนำมาลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานในองค์กรของตนจาก “ผู้ขาย” แล้ว คำถามที่ตามมาก็คือสัญญาซื้อขายที่จะเกิดขึ้นนั้นวัตถุอันเป็นทรัพย์สินที่จะมีการซื้อขายและส่งมอบกันนั้นคืออะไร บทความนี้จะวิเคราะห์รูปแบบของสัญญาซื้อไฟฟ้าสามรูปแบบได้แก่ สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิต ณ สถานที่ของผู้ใช้พลังงาน (self-consumption on site) สัญญาซื้อขายเอกสารรับรองแหล่งผลิตไฟฟ้า (purchase of guarantee of origin) และสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนผ่านตัวกลาง โดยจะมุ่งตอบคำถามว่าผู้ซื้อจะ “ได้อะไร” จากเงินที่จ่ายไป และสิ่งที่รับการส่งมอบมานั้นจะนำมาใช้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานขององค์กรได้หรือไม่

Read More
EP 38 บทบาทของกฎหมายกับกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing)

ใน EP ก่อน ๆ ผู้เขียนได้อธิบายถึงโอกาสทางธุรกิจจากการให้บริการอัดคาร์บอนไดออกไซด์ลงในแหล่งกักเก็บทางธรณีวิทยา (Carbon Storage) การขอรับและโอนขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Certificate หรือ REC) โดยเน้นการวิเคราะห์ศักยภาพ ข้อจำกัด และแนวทางในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรองรับสิทธิและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจดังกล่าว คำถามที่ผู้เขียนอยากให้วิเคราะห์เพิ่มเติม คือ เราอาจจะย้อนกลับไปคิดในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ว่า “แล้วการประกอบธุรกิจนี้มีความต้องการหรือไม่” หากมีการลงทุน รับความเสี่ยง และประกอบธุรกิจ แล้วไม่มี “อุปสงค์” หรือความต้องการซื้อ ก็อาจไม่มี “อุปทาน” หรือการให้บริการหรือขายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ หากประกอบธุรกิจแล้วไม่มีโอกาสได้กำไรเพียงพอการประกอบธุรกิจก็อาจไม่เกิดขึ้น คำถามคือ เหตุปัจจัยใดที่จะทำให้ผู้ผลิต (ซึ่งอาจมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) “ซื้อ” บริการเพื่อดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ เหตุใดผู้ผลิตดังกล่าวจะตัดสินใจซื้อ REC มาเพื่อเป็นการลดข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) ในแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้า

Read More
EP 1 เมืองอัจฉริยะและโอกาสทางธุรกิจสำหรับนักพัฒนาเมือง

“เมืองอัจฉริยะ” หรือ Smart City เป็นเมืองที่ผู้อยู่อาศัยได้รับและเข้ามีส่วนร่วมในการบริการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การรับการบริการด้านไฟฟ้า น้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค การจัดการขยะ การรับบริการด้านการขนส่ง โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ภายใต้แนวคิดด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีพลเมืองเป็นศูนย์กลางของระบบเหล่านี้

Read More

News

"ระบบพลังงานไทยและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง"

ขอเชิญเข้าร่วมการฝึกอบรมในหัวข้อ "ระบบพลังงานไทยและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง" วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ช่วงเวลา 13.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมเสวนา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร บี และผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมี ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ผู้เชี่ยญชาญด้านกฎหมาย บริษัท พีทีอีซี เอนเนอร์ยี คอนซัลติ้ง จำกัด เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในงาน

Read More
โครงการอบรมหลักสูตร “สัญญาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ” และ กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สาธารณสุขและสังคม (Environmental Health and Social Regulations)

1. สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และสังคมในบริบทของสัญญาโครงสร้างพื้นฐาน: ข้อความคิดในระดับสากลและกฎหมายไทย 2. ความท้าทายในทางปฏิบัติจากกฎหมายสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาโครงการพฒันาและดำเนินกิจการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนส่งสินค้าทั่วไป ณ ท่าเทียบเรือมาตาพุต 3. การเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบต่อประชาชน : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาสถานีรถไฟธนบุรี โดยผศ.ดร. ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ผู้อำนวยการหลักสูตร LL.M. (Business Law) International Program คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 พฤศจิกายน 2566

Read More
PTEC ได้ร่วมกิจกรรม SPCG TALK  ณ บูธ SPCG ในงาน SX SUSTAINABILITY EXPO 2023

PTEC โดย ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ (ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย) และคุณวราชา กุญชรยาคง (กรรมการผู้จัดการ) ได้ร่วมกิจกรรม SPCG TALK  ณ บูธ SPCG ในงาน SX SUSTAINABILITY EXPO 2023 จัดโดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เพื่อร่วมสร้าง “สมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า” Good Balance, Better World

Read More

Seminar

“Moving towards carbon neutrality through digital trading of low-carbon electricity”
Lecturer :
ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Place :
บูธ SPCG ในงาน SX SUSTAINABILITY EXPO 2023 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)
Date :
07/10/2023
Time :
11:00 am - 12:00 pm
Registration Fee :
Free Of Charge
Read More

อบรมสัมมนา

Cabon credit
Solar cell
EV Car