บริการของเรา

ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย

ดำเนินการด้านกฎระเบียบให้ครบวงจร ทั้งกิจการที่ต้องการได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ด้านกฎหมายพลังงาน (Energy Law) และกฎหมายสิ่งแวดล้อม การขอใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงา รวมถึงสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

อ่านเพิ่มเติม
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์

การประเมินปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas : GHG) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร/สำนักงาน/การให้บริการจากกิจกรรมต่างๆ ในความรับผิดชอบขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ประเมินได้ในหน่วยของปริมาณเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

อ่านเพิ่มเติม
ให้บริการและให้คำแนะนำ การตรวจและร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

การจัดทำรายการตรวจสอบ (Check List) สำหรับการตรวจร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจร่างสัญญาที่มีกฎหมายเฉพาะด้านและ พรบ. ประกาศข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการตรวจร่างสัญญาของกลุ่มนิติกรรมสัญญาเป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยมีความรอบคอบและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถบังคับใช้ได้ตามกฎหมายโดยไม่ขัดต่อกฎระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

คลังความรู้

"ฉลากรักษ์โลก" รายการวิทยุ ฬ.นิติมิติ EP.13/2567

"ฉลากรักษ์โลก" จัดโดย รายการวิทยุ ฬ.นิติมิติ EP.13/2567

อ่านเพิ่มเติม
EP 39 สิ่งที่ผู้ซื้อได้จากสัญญาซื้อไฟฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน

หากผู้ใช้ไฟฟ้าเช่นโรงงานอุตสาหกรรมประสงค์ที่จะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (carbon footprint organization หรือ “CFO”) โดยลดปริมาณการหปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน โดยโรงงานอุตสาหกรรมดังกล่าวไม่ประสงค์จะลงมือผลิตไฟฟ้าเองแต่เลือกที่จะ “ซื้อ” พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนหรือหลักฐานอื่นที่ช่วยนำมาลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานในองค์กรของตนจาก “ผู้ขาย” แล้ว คำถามที่ตามมาก็คือสัญญาซื้อขายที่จะเกิดขึ้นนั้นวัตถุอันเป็นทรัพย์สินที่จะมีการซื้อขายและส่งมอบกันนั้นคืออะไร บทความนี้จะวิเคราะห์รูปแบบของสัญญาซื้อไฟฟ้าสามรูปแบบได้แก่ สัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิต ณ สถานที่ของผู้ใช้พลังงาน (self-consumption on site) สัญญาซื้อขายเอกสารรับรองแหล่งผลิตไฟฟ้า (purchase of guarantee of origin) และสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนผ่านตัวกลาง โดยจะมุ่งตอบคำถามว่าผู้ซื้อจะ “ได้อะไร” จากเงินที่จ่ายไป และสิ่งที่รับการส่งมอบมานั้นจะนำมาใช้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานขององค์กรได้หรือไม่

อ่านเพิ่มเติม
EP 38 บทบาทของกฎหมายกับกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing)

ใน EP ก่อน ๆ ผู้เขียนได้อธิบายถึงโอกาสทางธุรกิจจากการให้บริการอัดคาร์บอนไดออกไซด์ลงในแหล่งกักเก็บทางธรณีวิทยา (Carbon Storage) การขอรับและโอนขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Certificate หรือ REC) โดยเน้นการวิเคราะห์ศักยภาพ ข้อจำกัด และแนวทางในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรองรับสิทธิและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจดังกล่าว คำถามที่ผู้เขียนอยากให้วิเคราะห์เพิ่มเติม คือ เราอาจจะย้อนกลับไปคิดในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ว่า “แล้วการประกอบธุรกิจนี้มีความต้องการหรือไม่” หากมีการลงทุน รับความเสี่ยง และประกอบธุรกิจ แล้วไม่มี “อุปสงค์” หรือความต้องการซื้อ ก็อาจไม่มี “อุปทาน” หรือการให้บริการหรือขายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ หากประกอบธุรกิจแล้วไม่มีโอกาสได้กำไรเพียงพอการประกอบธุรกิจก็อาจไม่เกิดขึ้น คำถามคือ เหตุปัจจัยใดที่จะทำให้ผู้ผลิต (ซึ่งอาจมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) “ซื้อ” บริการเพื่อดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ เหตุใดผู้ผลิตดังกล่าวจะตัดสินใจซื้อ REC มาเพื่อเป็นการลดข้อมูลกิจกรรม (Activity Data) ในแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้า

อ่านเพิ่มเติม
EP 1 เมืองอัจฉริยะและโอกาสทางธุรกิจสำหรับนักพัฒนาเมือง

“เมืองอัจฉริยะ” หรือ Smart City เป็นเมืองที่ผู้อยู่อาศัยได้รับและเข้ามีส่วนร่วมในการบริการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การรับการบริการด้านไฟฟ้า น้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค การจัดการขยะ การรับบริการด้านการขนส่ง โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ภายใต้แนวคิดด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีพลเมืองเป็นศูนย์กลางของระบบเหล่านี้

อ่านเพิ่มเติม

ข่าวและกิจกรรม

"ระบบพลังงานไทยและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง"

ขอเชิญเข้าร่วมการฝึกอบรมในหัวข้อ "ระบบพลังงานไทยและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง" วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ช่วงเวลา 13.30 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมเสวนา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร บี และผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมี ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ผู้เชี่ยญชาญด้านกฎหมาย บริษัท พีทีอีซี เอนเนอร์ยี คอนซัลติ้ง จำกัด เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในงาน

อ่านเพิ่มเติม
โครงการอบรมหลักสูตร “สัญญาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ” และ กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สาธารณสุขและสังคม (Environmental Health and Social Regulations)

1. สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข และสังคมในบริบทของสัญญาโครงสร้างพื้นฐาน: ข้อความคิดในระดับสากลและกฎหมายไทย 2. ความท้าทายในทางปฏิบัติจากกฎหมายสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาโครงการพฒันาและดำเนินกิจการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนส่งสินค้าทั่วไป ณ ท่าเทียบเรือมาตาพุต 3. การเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบต่อประชาชน : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาสถานีรถไฟธนบุรี โดยผศ.ดร. ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ ผู้อำนวยการหลักสูตร LL.M. (Business Law) International Program คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 พฤศจิกายน 2566

อ่านเพิ่มเติม
PTEC ได้ร่วมกิจกรรม SPCG TALK  ณ บูธ SPCG ในงาน SX SUSTAINABILITY EXPO 2023

PTEC โดย ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ (ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย) และคุณวราชา กุญชรยาคง (กรรมการผู้จัดการ) ได้ร่วมกิจกรรม SPCG TALK  ณ บูธ SPCG ในงาน SX SUSTAINABILITY EXPO 2023 จัดโดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)มหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เพื่อร่วมสร้าง “สมดุลที่ดี เพื่อโลกทีดีกว่า” Good Balance, Better World

อ่านเพิ่มเติม

อบรมสัมมนา

“Moving towards carbon neutrality through digital trading of low-carbon electricity”
วิทยากร :
ผศ.ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถานที่ :
บูธ SPCG ในงาน SX SUSTAINABILITY EXPO 2023 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)
วันที่ :
07/10/2566
เวลา :
11:00 น. - 12:00 น.
ค่าลงทะเบียน :
ฟรี
อ่านเพิ่มเติม

อบรมสัมมนา

Cabon credit
Solar cell
EV Car